การวิจัยการศึกษา และวิจัยในชั้นเรียน

(Education and classroom Action Research)

นาฬิกา


ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
ผู้จัดทำ

pat
นายภัทรพล  สำเนียง
14/6 ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
อีเมล์:[email protected]
________________________

 

เว็ปไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา จิตวิทยาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/1554อาจารผู้สอน ผ.ศ สุภวรรณ พันธ์จันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา ค.อ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

________________________

 
เมนู
สถิติ
เปิดเมื่อ3/12/2011
อัพเดท8/02/2012
ผู้เข้าชม125312
แสดงหน้า152731




(เข้าชม 12506 ครั้ง)

 

ความแตกต่างระหว่างการวิจัยทางการกับการวิจัยในชั้นเรียน
 

          การวิจัยทางการ (Formal Research: FR) หมายถึง กระบวนการหาความรู้ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขหรือป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้

          การวิจัยในชั้นเรียน(Classroom Action Research: CAR) หมายถึง การวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพของผู้เรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

          ดังนั้น การวิจัยทางการหรือตามรูปแบบ (Formal Research) จึงมีรายละเอียดและรูปแบบที่จะต้องยึดถืออยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดข้อยุงยากและข้อจำกัดในการทำวิจัยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน หรือความรู้ทางด้านระเบียบวิธีวิจัยที่ดีพอ วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อยุ่งยากที่เกิดจากการวิจัยตามรูปแบบและมีความเหมาะสมสำหรับครูในการนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน มีการลดขั้นตอน และข้อจำกัดที่เป็นของการวิจัยตามรูปแบบลงไป ทำให้ง่ายที่จะทำความเข้าใจ และนำไปใช้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการวิจัยทางการหรือตามรูปแบบกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จึงขอสรุปได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1  ความแตกต่างระหว่างการวิจัยทางการกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ประเด็น FR (Formal Research) CAR (Classroom Action Research)
1. เป้าหมายของการวิจัย ได้องค์ความรู้ที่สามารถสรุปอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรได้ ได้องค์ความรู้ที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนางานที่กำลังปฏิบัติอยู่
2. วิธีการกำหนดประเด็นปัญหาหรือคำถามวิจัย ตรวจเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเด็นปัญหาที่พบในปัจจุบัน
3. วิธีการตรวจเอกสาร   การตรวจเอกสารไม่เข้มข้นมากนัก อนุโลมให้ใช้ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ (ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่ต้นตอ)
4. แผนแบบการวิจัย มีการควบคุมตัวแปรอย่างเข้มงวดและใช้ระยะเวลายาวนาน ตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นบางอย่างออกไป ใช้ระยะเวลาสั้น ไม่เข้มงวดในการควบคุมตัวแปร
5. การสุ่มตัวอย่าง เน้นการสุ่มชนิดที่คำนึงถึงความน่าจะเป็น เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร ไม่เน้นการสุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ศึกษาคือนักเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานด้วย
6. กระบวนการวัดผล ประเมินผล และมีการวัดก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง วัดตามแบบปกติหรือใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
7. การวิเคราะห์ข้อมูล มีการใช้อนุมานสถิติ เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยมีการทดสอบความมีนัยสำคัญ เช่น มีการใช้ t-test, F-test เป็นต้น เนื่องจากกลุ่มที่ศึกษาคือประชากรเป้าหมาย ไม่มีการสุ่มตัวอย่าง จึงใช้สถิติเชิงบรรยาย เช่น การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
8. ผลการวิจัย มีความกว้างขวาง และครอบคลุม อ้างอิงไปใช้กับกลุ่มอื่นได้ เฉพาะที่ เฉพาะเรื่อง ไม่สามารถอ้างอิงไปใช้กับกลุ่มอื่นได้
9. การนำผลไปใช้ เน้นความสำคัญในเชิงทฤษฎี เน้นความสำคัญที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ
10. ระยะเวลาในการศึกษา ใช้ระยะเวลานานเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา หรือมากกว่านั้น ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ตามหัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษา