การวิจัยการศึกษา และวิจัยในชั้นเรียน

(Education and classroom Action Research)

นาฬิกา


ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
ผู้จัดทำ

pat
นายภัทรพล  สำเนียง
14/6 ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
อีเมล์:[email protected]
________________________

 

เว็ปไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา จิตวิทยาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/1554อาจารผู้สอน ผ.ศ สุภวรรณ พันธ์จันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา ค.อ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

________________________

 
เมนู
สถิติ
เปิดเมื่อ3/12/2011
อัพเดท8/02/2012
ผู้เข้าชม125329
แสดงหน้า152748




ลักษณะของการวิจัยทางการศึกษา (เข้าชม 4458 ครั้ง)

 

ลักษณะของการวิจัยทางการศึกษา

 

          ความสำคัญของการวิจัยอยู่ที่กระบวนการ (Process)ถึงแม้ว่าการวิจัยจะมีวิธีดำเนินการที่หลากหลายและ แตกต่างกัน แต่ลักษณะของการวิจัยทางการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ (http://researchers.in.th/home)
 

1. การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ (Research is empirical) กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่ใช้การสังเกตจากสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อาศัยการใช้เหตุผล และองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปอ้างอิง หรือ เผยแพร่ (generated)ได้ การได้มาซึ่งข้อมูลนั้นมีหลายวิธี เช่น คะแนนจากการทดสอบ การบันทึกภาคสนาม การตอบแบบสอบถาม และผลที่ได้จากคอมพิวเตอร์ (computer printouts) และมีการ จัดการกับข้อมูลดังกล่าวด้วยการจัดระบบข้อมูล ตั้งสมมติฐาน ทดสอบสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และสรุปผล
 

2. การวิจัยควรจะเป็นระบบ (Research should be systematic) การวิจัยเป็นกระบวนการ และ มีขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ ดังนั้นการวิจัยทางการศึกษา จึงต้องใช้วิธีการ ที่เป็นระบบในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และ แปลผลข้อมูล
 

3. การวิจัยควรจะมีความเที่ยงตรง (Research should be valid)ความเที่ยงตรงในการวิจัย ขึ้นอยู่กับความจริง และ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ (capable of being justified) ความเที่ยงตรงในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) และ ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) โดยที่ ความเที่ยงตรงภายใน จะช่วยทำให้การแปลผลงานวิจัยได้ถูกต้อง ส่วนความเที่ยงตรงภายนอก จะทำให้สรุปอ้างอิง หรือขยายผลไปถึงประชากร (generalized to populations) สถานการณ์ (situation) และ เงื่อนไข (conditions) ต่าง ๆ ได้

4. การวิจัยควรจะมีความเชื่อมั่นได้ (Research should be reliable) กล่าวคือ ความเชื่อมั่น ในการวิจัยเกี่ยวข้องกับรูปแบบ (reliability) และความคงที่ (consistency) ในวิธีการ เงื่อนไข และ ผลลัพธ์ที่ได้ บางครั้งมีการจำแนกความเชื่อมั่นเป็น 2 ประเภท คือ ความเชื่อมั่นภายใน (internal reliability) และความเชื่อมั่นภายนอก (external reliability)โดยที่ความเชื่อมั่นภายในจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และ การแปลผลข้อมูลจากการสังเกต ว่ามีความคงที่ และอยู่ใน เงื่อนไขเดียวกันหรือไม่ ถ้าการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้วิจัยไม่คงที่ จะทำให้การวิจัยขาดความเชื่อมั่นภายใน ดังนั้น ความเชื่อมั่นภายในจะพิจารณาได้จากข้อคำถามที่ว่า เห็นด้วยกับผู้เก็บข้อมูล หรือ ผู้สังเกตหรือไม่ (observer agreement) ส่วนความเชื่อมั่นภายนอก จะเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่ใช้ในการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยที่มีสถานการณ์ที่เหมือนกันหรือคล้ายกันกับงานวิจัยที่เคยศึกษามาก่อนแล้ว ถ้าผู้วิจัยจะใช้รูปแบบวิธีการศึกษาแบบเดิม ผู้วิจัยจะต้องอธิบายเหตุผลที่ใช้วิธีการแบบเดิมด้วย
 

5. การวิจัยควรจะเป็นการวิจัยหลาย ๆ รูปแบบ (Research can take on a variety of forms)
การวิจัยทางการศึกษาที่มีการศึกษาหลาย ๆ อย่าง จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง รูปแบบในการวิจัยมีหลายรูปแบบ เช่น การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงบรรยายการศึกษารายกรณี เป็นต้น

 

           ลักษณะของการวิจัยทางการศึกษาจากที่กล่าวมาแล้วนั้น สรุปได้ว่า  ต้องมีระบบในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ ข้อมูลควรเก็บจากแหล่งข้อมูลโดยตรง การวิจัยที่ดีควรมีความเที่ยงตรง และ มีความเชื่อมั่น รวมทั้งควรมีการวิจัยหลายรูปแบบ เพื่อให้ได้ องค์ความรู้ และ การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษา