การวิจัยการศึกษา และวิจัยในชั้นเรียน

(Education and classroom Action Research)

นาฬิกา


ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
ผู้จัดทำ

pat
นายภัทรพล  สำเนียง
14/6 ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
อีเมล์:[email protected]
________________________

 

เว็ปไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา จิตวิทยาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/1554อาจารผู้สอน ผ.ศ สุภวรรณ พันธ์จันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา ค.อ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

________________________

 
เมนู
สถิติ
เปิดเมื่อ3/12/2011
อัพเดท8/02/2012
ผู้เข้าชม125324
แสดงหน้า152743




(เข้าชม 13783 ครั้ง)

 

การวิจัยกับการพัฒนาการศึกษา

1. ความหมายความสำคัญการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (Educational Research and Development หรือ R & D)

          กิติราช เตชะมโนกุล (มปป.) กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนา (R&D: Research and Development) เป็นกระบวนการของการศึกษาเรียนรู้ และการคิดค้นเพื่อมุ่งหวังที่จะให้เกิดการค้นพบความรู้ ความเข้าใจ หรือเทคนิควิธีการใหม่ๆ อย่างมีเหตุมีผลและเป็นระบบ รวมทั้งการนำสิ่งที่ได้มีการคิดค้นหรือค้นพบมาแล้วทำการออกแบบ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้สินค้ากระบวนการผลิต การให้บริการมีลักษณะรูปแบบใหม่ ๆ หรือการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

          รุจโรจน์  แก้วอุไร (มปป.) กล่าวว่า กระบวนการวิจัยและพัฒนา เป็นการวิจัยที่ต้องการค้นคว้าและพัฒนา  ทำการทดสอบในสภาพจริง ทำการประเมิน และดำเนินการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หลาย ๆ รอบ จนได้ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

          พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2544) กล่าวถึง การวิจัยและการพัฒนาทางการศึกษาตรงกับภาษาอังกฤษว่า Educational Research and Development (R&D) เป็นการพัฒนาการศึกษาโดยพื้นฐานการวิจัย (Research based educational development) เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการสำคัญวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการศึกษา โดยเน้นหลักเหตุผลและตรรกวิทยา เป้าหมายหลักคือ ใช้เป็นกระบวนการในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา(Educational products) ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา หมายถึง (1) วัสดุครุภัณฑ์ทางการศึกษา อันได้แก่ หนังสือแบบเรียน ฟิล์ม สไลด์ เทปเสียง เทปโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ และ (2) วิธีการและกระบวนการทางการศึกษา เช่น ระบบการสอนและเทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ

บัญชา  อึ๋งสกุล (2540) กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (Educational Research and Development) เรียกย่อๆว่า R&Dมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาผลงานการศึกษา เป็นวิธีการที่ได้ใช้กระบวนการพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมของผลงานการศึกษา ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในขณะนี้ที่ใช้ในการปรับปรุงการศึกษา

          กล่าวโดยสรุป การวิจัยและพัฒนาการศึกษา(Educational Research and Development) หมายถึง กระบวนการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้เพื่อมุ่งแสวงหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างแท้จริง มีขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบ มีการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาทดลองใช้แล้วพัฒนาและอาจมีการพัฒนาหลาย ๆ รอบ เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่มีคุณภาพที่สุด หรือ กระบวนการศึกษาค้นคว้าแสวงหานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมมาทดลองใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มากกว่าการศึกษาหาคำตอบเพื่อการเรียนรู้ โดยอาจมีการพัฒนาหลาย ๆรอบเพื่อให้ได้นวัตกรรม ที่ดีที่สุดมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

          ดังนั้น การวิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นการพัฒนาการศึกษา โดยพื้นฐานการวิจัย (Research Based Education Development) เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการสำคัญหนึ่งที่นิยมใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการศึกษา โดยเน้นหลักเหตุผลและตรรกวิทยา เป้าหมายหลัก คือ ใช้เป็นกระบวนการในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา (Education Product)

          การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (R & D) มีความแตกต่างจากการวิจัยการศึกษาประเภทอื่นๆ อยู่ 2ประเภท (http://school.obec.go.th/sup_br3/r_3.htm) คือ

1. เป้าประสงค์/จุดมุ่งหมาย (Goal) การวิจัยทางการศึกษามุ่งค้นคว้าหาความรู้ใหม่ โดยการวิจัยพื้นฐานหรือมุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน โดยการวิจัยประยุกต์ แต่การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษามุ่งพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา แม้ว่าการวิจัยประยุกต์ทางการศึกษาหลายโครงการก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา เช่นการวิจัยประยุกต์ทางการศึกษาสำหรับการสอนแต่ละแบบแต่ละผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ใช้สำหรับการทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยแต่ละครั้งเท่านั้น ไม่ได้พัฒนาไปสู่การใช้สำหรับสถานศึกษาทั่วไป

 2. การนำไปใช้ (Utility) การวิจัยทางการศึกษา มีช่องว่างระหว่างผลการวิจัยกับการนำไปใช้จริงอย่างกว้างขวาง คือ ผลการวิจัยทางการศึกษาจำนวนมากอยู่ในตู้ไม่ได้รับการพิจารณานำไปใช้ นักการศึกษาและนักวิจัยจึงหาทางลดช่องว่างดังกล่าวโดยวิธีที่เรียกว่า “การวิจัยและพัฒนา” อย่างไรก็ตามการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา มิใช่สิ่งที่ทดแทนการวิจัยทางการศึกษา แต่เป็นเทคนิควิธีที่จะเพิ่มศักยภาพของการวิจัยทางการศึกษาให้มีผลต่อการจัดการทางการศึกษา คือ เป็นตัวเชื่อมเพื่อแปลงไปสู่ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในโรงเรียนทั่วไป ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการศึกษาจึงเป็นการใช้ผลจากการวิจัยทางการศึกษา (ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพื้นฐาน หรือการวิจัยประยุกต์) ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

2. กระบวนการและขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา

กองวิจัยทางการศึกษากรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2535) ได้พัฒนาผลงานที่เรียกว่าหลักสูตรการอบรมวิจัยปฏิบัติ เรื่อง การวิจัยเชิงพัฒนาระดับโรงเรียน ซึ่งมีขั้นตอนหลักของวงจรR&D ที่ใช้ในการสร้างหลักสูตรการวิจัยเชิงพัฒนาระดับโรงเรียน ดังนี้

1. ศึกษาสภาพปัญหาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

2. การออกแบบนวัตกรรม

3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมตามแนวหรือกรอบของรูปแบบนวัตกรรมที่กำหนดไว้

4. การทดลอง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

          4.1 การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก

          4.2 การนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่ในสถานการณ์จริง

5. การประเมินผล

วิเวก สุขสวัสดิ์ (2537) กล่าวถึง การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

1.การศึกษาปัญหาการเรียนการสอน

2.การกำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน

3.การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

4.การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

5.การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน

6.การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

7.การเผยแพร่ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

รุจโรจน์ แก้วอุไร (มปป.) กล่าวถึง ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 10ขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดผลิตภัณฑ์และรวบรวมข้อมูล

2. การวางแผนการวิจัยและพัฒนา

3. การพัฒนารูปแบบขั้นตอนของการผลิต

4. ทดลองหรือทดสอบผลิตภัณฑ์ขั้นต้น

5. นำข้อมูลและผลการทดลองมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ขั้นที่ 1

6. ทดลองหรือทดสอบผลิตภัณฑ์ครั้งที่ 2

7. นำข้อมูลและผลการทดลองมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ขั้นที่ 2

8. ทดลองหรือทดสอบผลิตภัณฑ์ครั้งที่ 3

9. นำข้อมูลและผลการทดลองมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ขั้นที่ 3

10. การเผยแพร่

บัญชา  อึ๋งสกุล (2540: 25) กล่าวถึงกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นศึกษาผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลงานที่ต้องพัฒนา

2. ขั้นสร้างผลงานบนฐานของการวิจัย

3. ขั้นทดลองภาคสนามที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่จะนำไปใช้จริง

4. ขั้นแก้ไขปรับปรุงผลงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องจากที่พบในการทดสอบภาคสนาม

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (อ้างถึงใน http://school.obec.go.th/sup_br3/r_3.htm, มปป.)กล่าวถึง ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 11ขั้นตอน ดังนี้

1.  กำหนดผลผลิตทางการศึกษาที่จะทำการพัฒนา ขั้นตอนแรกที่จำเป็นที่สุด คือ ต้องกำหนดให้ชัดว่าผลผลิตทางการศึกษาที่จะวิจัยและพัฒนาคืออะไรโดยต้องกำหนดลักษณะทั่วไป   รายละเอียดของการใช้วัตถุประสงค์ของการใช้เกณฑ์ในการเลือกกำหนดผลผลิตการศึกษาที่จะวิจัยและพัฒนา อาจมี 4ข้อ คือ

1.1 ตรงกับความต้องการอันจำเป็นหรือไม่

1.2 ความก้าวหน้าทางวิชาการมีพอเพียงในการที่จะพัฒนา ต่อการวิจัยและพัฒนานั้นหรือไม่

1.3 บุคลากรที่มีอยู่ ทักษะความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนานั้นหรือไม่

1.4 ผลผลิตนั้นจะพัฒนาขึ้นในเวลาอันสมควรได้หรือไม่

2.  รวบรวมข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัย การสังเกตภาคสนามซึ่งเหี่ยวข้องกับการใช้ผลผลิตการศึกษาที่กำหนด ถ้ามีความจำเป็นผู้ทำการวิจัยและพัฒนาอาจต้องทำการศึกษาวิจัยขนาดเล็กเพื่อหาคำตอบซึ่งงานวิจัยและทฤษฎีที่มีอยู่ไม่สามารถตอบได้ก่อนที่จะเริ่มการพัฒนาต่อไป

3.  การวางแผนการวิจัยและพัฒนา การวางแผนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย

1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ผลผลิต

2) ประมาณการค่าใช้จ่าย กำลังคน และระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้

3) พิจารณาผลสืบเนื่องจากผลผลิต

4.  พัฒนารูปแบบขั้นตอนของผลผลิต ขั้นนี้เป็นขั้นการออกแบบและจัดทำผลผลิตการศึกษาตามที่วางไว้ เช่น เป็นโครงการวิจัยและพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ก็จะต้องออกแบบหลักสูตร เตรียมวัสดุหลักสูตร คู่มือผู้ฝึกอบรม เอกสารในการฝึกอบรม และเครื่องมือการประเมินผล

5.  ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 1 โดยการนำผลผลิตที่ออกแบบและจัดเตรียมไว้ในขั้นที่ 4ไปทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพขั้นต้นของผลผลิตในโรงเรียนจำนวน 1-3โรงเรียน ใช้กลุ่มเล็ก 6-12คน ประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกตและการสัมภาษณ์ แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์

6.  ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 1 นำข้อมูลและผลการทดลองใช้จากขั้นตอนที่ 5มาพิจารณาปรับปรุง

7.  ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 2 ขั้นนี้นำผลผลิตที่ปรับปรุงไปทดลอง เพื่อทดสอบคุณภาพผลผลิตตามวัตถุประสงค์ โรงเรียนจำนวน5-15โรงเรียน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 30-100คน ประเมินผลเชิงปริมาณในลักษณะ Pre-test นำผลไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการใช้ผลผลิตอาจมีกลุ่มควบคุม กลุ่มการทดลอง ถ้าจำเป็น

8.  ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 2 นำข้อมูลและผลจากการทดลองใช้จากขั้นที่ 7มาพิจารณาปรับปรุง

9.  ทดลองหรือทดสอบผลผลิตครั้งที่ 3 ขั้นนี้นำผลผลิตที่ปรับปรุงไปทดลอง เพื่อทดสอบคุณภาพการใช้งานของผลผลิต โดยใช้ตามลำพังในโรงเรียน 10-13โรงเรียน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 40-200คน ประเมินผลโดยการใช้แบบสอบถาม การสังเกตและการสัมภาษณ์แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์

10.ปรับปรุงผลผลิตครั้งที่ 3 เป็นขั้นที่นำขั้นที่ 9มาพิจารณาปรับปรุงเพื่อผลิตและเผยแพร่ต่อไป

11. เผยแพร่ เป็นการเสนอรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัยและพัฒนาผลผลิตในที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการหรือวิชาชีพ ส่งไปลงเผยแพร่ไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ หรือติดต่อบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายต่อไป

สรุปกระบวนการของ R&D

ไดอะแกรมวงกลม

ภาพที่ 1กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา

3. การรายงานการวิจัยและพัฒนา R&D

ข้อสังเกตลักษณะสำคัญของรายงาน R&D (http://202.129.0.151/upload/090800/
นำเสนอวิจัยRandD.ppt, มปป.)มีดังนี้

1.  ชื่อเรื่อง

มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า การพัฒนา หรือ การวิจัยและพัฒนา หรือ รูปแบบการพัฒนา แล้วตามด้วยชื่อนวัตกรรม และกลุ่มเป้าหมาย  เช่น

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล

Development of English curriculum using learner-centered innovation with the cooperation of Rajamangala university of technology Lanna network

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกรมศิลปากร

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์

 การวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารแบบหลอมรวมเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้

 การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพสู่การพึ่งพาตนเองของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี

2. วัตถุประสงค์

การวิจัยและพัฒนาการศึกษานั้นอาจเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

(1) เขียนเป็นวัตถุประสงค์หลักมักจะเขียนล้อกับชื่อเรื่องที่วิจัยและพัฒนา มักจะเขียน เช่น         เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหาร ....  เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน.... เป็นต้น

(2) เขียนเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะเป็นรายข้อ มักจะมีลักษณะการเขียนเป็นขั้นตอน  ของการวิจัยและพัฒนาที่ชัดเจน  ได้แก่

- เพื่อศึกษาสภาพ..........................

- เพื่อสร้าง/หาประสิทธิภาพ..........................

- เพื่อทดลองใช้/เปรียบเทียบ ...........................

- เพื่อประเมินผลการใช้/ศึกษาความคิดเห็น/ศึกษาความพึงพอใจต่อ....................

3. วิธีดำเนินการ

(1) มีวิธีการดำเนินการเป็นขั้นตอน  ตั้งแต่ ศึกษาสภาพปัญหา สร้างนวัตกรรม ทดลองใช้ และประเมินผล

(2) อาจมีวงจรของการพัฒนาหลายรอบ