การวิจัยการศึกษา และวิจัยในชั้นเรียน

(Education and classroom Action Research)

นาฬิกา


ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
ผู้จัดทำ

pat
นายภัทรพล  สำเนียง
14/6 ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
อีเมล์:[email protected]
________________________

 

เว็ปไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา จิตวิทยาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/1554อาจารผู้สอน ผ.ศ สุภวรรณ พันธ์จันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา ค.อ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

________________________

 
เมนู
สถิติ
เปิดเมื่อ3/12/2011
อัพเดท8/02/2012
ผู้เข้าชม125325
แสดงหน้า152744




(เข้าชม 1648 ครั้ง)

 

การส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้

 

          การวิจัยในชั้นเรียน นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อครูทำวิจัยในชั้นเรียนทำให้เป็นการเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการของตนเอง ทำให้ครูมีนวัตกรรม สื่อและวิธีการสอนที่มีคุณภาพ ซึ่งทำให้เกิดมาตรฐานในการเรียนการสอนตามระบบประกันคุณภาพอันสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู อีกประการหนึ่งครูยังสามารถนำผลงานที่เกิดจากการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์การขอเลื่อนระดับหรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูได้อีกด้วย โดยผลงานนั้นควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ ต้องสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูกำหนด มีประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีรูปแบบการเขียนรายงานที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น ทั้งครูและผู้บริหารควรเห็นความสำคัญและสนับสนุนส่งเสริมให้ครูได้ทำวิจัยในชั้นเรียน มีการจัดทำสรุปผลการวิจัยที่เข้าใจง่าย ๆ เผยแพร่แก่ครู บุคคล หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ครูควรนำ วิธีการ/นวัตกรรมที่ค้นพบจากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างสมํ่าเสมอ ครูควรแลกเปลี่ยนงานวิจัยของตนเองกับผู้อื่น เช่น การนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุม การเข้าร่วมสัมมนา และการเผยแพร่เอกสาร ผู้บริหารต้องกระตุ้นให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมให้ครูค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เช่น การศึกษาเอกสารทางวิชาการ การสนทนากับผู้รู้ เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องจัดให้มีการประชุมปฏิบัติการทางวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการวิจัยในชั้นเรียนแก่ครู และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง

          กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ควรจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนให้กับครู โดยใช้วงจรพัฒนาคุณภาพงาน (deming cycle) เป็นวงจรที่คนทั่วไปรู้จัก คือ PDCA ดังภาพ

ภาพที่ 3แผนภาพวงจร PDCA

 

          วงจรนี้เป็นวงจรพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ (total quality management: TQM) ผู้ที่คิดค้นกระบวนการหรือวงจรคุณภาพ PDCA คือ Shewhart นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน แต่ Deming ได้นำเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จจนผลักดันให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก คนทั่วไปจึงรู้จักวงจร PDCA จากการเผยแพร่ของ Deming จึงเรียกว่า วงจร Deming

วงจร PDCA ประกอบด้วย ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. วางแผน (Plan - P) การทำงานใด ๆ ต้องมีการวางแผน เพราะทำให้มีความมั่นใจว่าทำงานได้สำเร็จ เช่น วางแผนการสอน วางแผนการวิจัย โดยการวางแผนวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวางแผนตามคำถามต่อไปนี้ Why What และ How

2. การปฏิบัติ (Do - D) เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ การปฏิบัติวิจัยในชั้นเรียนตามแผนการวิจัย คือการลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยที่ตั้งไว้ในแผน

3. ตรวจสอบ (Check - C) เป็นขั้นตอนของการประเมินการทำงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ มีเรื่องอะไรปฏิบัติได้ตามแผน มีเรื่องอะไรไม่สามารถปฏิบัติตามแผนหรือปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล การตรวจสอบนี้จะได้สิ่งที่สำเร็จตามแผน และสิ่งที่เป็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข

4. การปรับปรุงแก้ไข (Action - A) เป็นขั้นของการนำข้อบกพร่องมาวางแผน เพื่อการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วลงมือแก้ไข ซึ่งขั้นนี้อาจพบว่าประสบความสำเร็จหรืออาจพบว่ามีข้อบกพร่องอีก ผู้วิจัยหรือผู้ทำงานก็ต้องตรวจสอบเนื้อหาเพื่อแก้ไขแล้วนำไปแก้ไขอีกต่อไป งานของการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการทำเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน