การวิจัยการศึกษา และวิจัยในชั้นเรียน

(Education and classroom Action Research)

นาฬิกา


ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
ผู้จัดทำ

pat
นายภัทรพล  สำเนียง
14/6 ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
อีเมล์:[email protected]
________________________

 

เว็ปไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา จิตวิทยาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/1554อาจารผู้สอน ผ.ศ สุภวรรณ พันธ์จันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา ค.อ.บ.วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก

________________________

 
เมนู
สถิติ
เปิดเมื่อ3/12/2011
อัพเดท8/02/2012
ผู้เข้าชม125327
แสดงหน้า152746




(เข้าชม 849 ครั้ง)

 

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน

 

          กรมวิชาการ (2525: 117-120) ได้เสนอปัญหาในการทำวิจัยไว้เป็น ดังนี้

1. ปัญหาด้านเทคนิคการวิจัย ซึ่งปัญหาทางด้านนี้แบ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับขาดแคลนแหล่งค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่มีคุณภาพ การเขียนรายงานการวิจัยสื่อความหมายไม่ดี ผลงานวิจัยยังขาดแคลนในบางประเภท รูปแบบการวิจัยไม่เหมาะสม ผู้เก็บข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลไม่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร และผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสำคัญกับการทำวิจัย เป็นต้น

2. ปัญหาด้านการบริหารงานวิจัย ปัญหาด้านนี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับผู้วิจัยไม่มีเวลาในการทำวิจัย ขาดผู้ช่วยงานวิจัย มีงบประมาณด้านการทำวิจัยจำกัด และขาดขวัญกำลังใจในการทำวิจัย เป็นต้น

          โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2526: 17-19) ยังได้เสนอแนะปัญหาในการทำวิจัยไว้ดังนี้ คือ

1. ผู้วิจัยเลือกปัญหาในการทำวิจัย โดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของปัญหาต่อการจัดการเรียนการสอน ส่วนมากจะเลือกปัญหาโดยคำนึงถึงความสนใจของตนเองเท่านั้น

2. การวิจัยส่วนมากไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้ ผลการวิจัยจึงอาจจะมีผลของตัวแปรแทรกซ้อน ทำให้ไม่น่าเชื่อถือ

3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่มีความสำคัญ

4. การเก็บข้อมูลยังนิยมใช้เฉพาะแบบสอบถาม ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย

5. การวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในช่วงระยะเวลาเดียว ไม่มีการติดตามศึกษาเป็นระยะต่อเนื่องพอสมควร ซึ่งจะเป็นการจำกัดตัวแปรด้านเวลา และอาจจะทำให้ผลการวิจัยไม่น่าเชื่อถือ

6. การวิเคราะห์ข้อมูลยังทำไม่ลึกซึ้ง และบางครั้งผู้วิจัยไม่ตระหนักถึงรูปแบบของการวิจัย จึงใช้สถิติวิเคราะห์ผิด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เครื่องจักรกลในการวิเคราะห์ข้อมูล

7. การเขียนรายงานการวิจัยยังไม่สามารถสื่อความได้ ภาษาที่ใช้ในการวิจัยยังเป็นภาษาสถิติ

          กรมวิชาการ (2536) ได้ประชุมเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา เรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการศึกษา และมีการสรุปถึงปัญหาในการทำวิจัยและการนำผลวิจัยไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ดังต่อไปนี้

1. ไม่มีการศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่องที่ตรงกับปัญหาที่โรงเรียนต้องการอย่างเพียงพอ

2. งานวิจัยที่มีอยู่ไม่ได้เสนอแนวทางหรือวิธีการนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง

3. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนไม่ได้แพร่หลายเข้าไปสู่โรงเรียน

4. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนยังไม่มีมาตรการที่มั่นใจได้ว่าจะเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพพอที่จะนำไปพัฒนาโรงเรียนได้

5. นักวิจัยภายนอกมักมองไม่เห็นสภาพปัญหาของโรงเรียนที่แท้จริง จึงไม่สามารถสร้างงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน

6. นักวิจัยระดับโรงเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องงานวิจัย จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลพื้นฐานให้เป็นระบบได้

7. นักวิจัยไม่ได้ชี้นำส่วนสำคัญของงานวิจัยที่จะนำไปแก้ปัญหาภายในโรงเรียน

8. ผู้บริหารไม่เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ผลงานวิจัย

9. ผู้บริหารส่วนหนึ่งไม่เห็นความสำคัญของงานวิจัย จึงไม่ส่งเสริมให้มีการแก้ปัญหาโดยวิธีการวิจัย

          ในเรื่องเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงการทำวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนและในตอนหนึ่งได้เสนอปัญหาในการทำวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภายในโรงเรียนไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. ผู้ใช้ผลงานวิจัยกับผู้ทำวิจัยไม่ใช่คนคนเดียวกัน จึงไม่เห็นความสำคัญของงานวิจัย

2. งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ส่วนใหญ่วิธีการและรูปแบบจะเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมากกว่ากระบวนการคิดและการปฏิบัติ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ยังไม่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเท่าที่ควร

3. ครูผู้สอนไม่เข้าใจระเบียบวิธีวิจัย ไม่มีความรู้และเวลาในการทำวิจัย

4. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับพัฒนาการเรียนการสอนมีน้อย และผลงานวิจัยที่มีอยู่ก็ไม่ได้เจาะลึกถึงห้องเรียน ผู้สอนและนักเรียนอย่างแท้จริง

5. การจัดการเรียนการสอน การกำหนดเนื้อหา หลักสูตรต่าง ๆ ขาดการใช้ข้อมูลจากการวิจัยส่วนมากใช้การลอกเลียนจากต่างประเทศ

          กองวิชาการ (2530: 57-64) จัดให้มีการสัมมนาศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศในโครงการการวิจัยและทดลองหารูปแบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สรุปปัญหาในการดำเนินโครงการวิจัยในหน่วยงานของจังหวัดไว้ดังนี้

1. ปัญหาในการเลือกเรื่องที่จะทำการวิจัย คือ

1.1 ผู้วิจัยในระดับจังหวัดไม่สามารถทำวิจัยในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างอิสระเพราะผู้บริหารระดับนโยบายกำหนดให้ทำวิจัยเชิงทดลองเท่านั้น

1.2 การเลือกปัญหาในการนำมาวิจัย ยังวิเคราะห์ไม่ชัดเจน

1.3 เรื่องที่จะนำมาทำวิจัยยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์

1.4 เรื่องที่ทำวิจัยมักซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น เนื่องจากขาดการเผยแพร่ผลงานวิจัย

1.5 ผู้วิจัยมักทำการวิจัยในเรื่องที่ตนถนัดและสนใจมากกว่าที่จะทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของชั้นเรียน

1.6 ผู้ร่วมงานมักไม่ให้ความร่วมมือในการเลือกเรื่องที่จะทำวิจัย ทำให้ไม่ได้หัวข้อเรื่องที่เป็นปัญหาจริง

2. ปัญหาในการเขียนโครงการวิจัย มีปัญหา คือ

2.1 ในระดับจังหวัดขาดแคลนข้อมูลและเอกสารที่ใช้อ้างอิงถึงในการเขียนโครงการ

2.2 ขาดความรู้ในการเขียนโครงการ

2.3 หน่วยงานในระดับสูงขึ้นไปไม่มีตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโครงการ

3. ปัญหาในการวางรูปแบบการวิจัย มีปัญหา คือ

3.1 ขาดที่ปรึกษาเนื่องจากในหน่วยงาน ไม่มีผู้มีความรู้ทางการวิจัย

3.2 ผู้วิจัยขาดความรู้ในการวางรูปแบบการวิจัย

4. ปัญหาในการเลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีปัญหา คือ

4.1 ผู้วิจัยขาดความรู้และไม่มั่นใจในการเลือกใช้สถิติให้ถูกต้องและเหมาะสม

4.2 ขาดที่ปรึกษาทางสถิติ

5. ปัญหาในการดำเนินงานวิเคราะห์ข้อมูล มีปัญหา คือ

5.1 ในระดับจังหวัดขาดเครื่องมือคิดคำนวณที่มีประสิทธิภาพ

5.2 ขาดกำลังคนและมีเวลาค่อนข้างจำกัด

5.3 ขาดความรู้ในการคิดคำนวณและการใช้เครื่องมือคิดคำนวณ

6. ปัญหาในการเขียนรายงานการวิจัย มีปัญหา คือ

6.1 แหล่งค้นคว้าด้านวิชาการในท้องถิ่นมีน้อย ทำให้ขาดเอกสารในการอ้างอิงในการเขียนรายงาน

6.2 บุคลากรผู้ช่วยและเวลาในการเขียนรายงานการวิจัยมีจำกัด

6.3 หน่วยงานในระดับสูงขึ้นไปไม่กำหนดมาตรฐานการเขียนรายงานการวิจัยมาให้

6.4 ขาดความถนัด และประสบการณ์ในการเขียนรายงานการวิจัย

7. ปัญหาการนำผลการวิจัยไปใช้ มีปัญหา คือ

7.1 ผู้บริหารไม่ให้การสนับสนุน เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญ

7.2 ผู้เกี่ยวข้องระดับต่าง ๆ ในหน่วยงานยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความสนใจในการนำผลการวิจัยไปใช้

7.3 ขาดงบประมาณสนับสนุนในการเผยแพร่และการนำผลการวิจัยไปใช้

7.4 ไม่มีโครงการรองรับในการนำผลการวิจัยไปใช้

7.5 ผู้ใช้ผลการวิจัยไม่เข้าใจ ทำให้นำผลการวิจัยไปใช้ผิด ๆ

7.6 ผู้ใช้ผลการวิจัยไม่มีความมั่นใจในการนำผลการวิจัยไปใช้

8. ปัญหาด้านความรู้และความสามารถของบุคลากรที่ดำเนินการวิจัย มีปัญหา คือ

8.1 บุคลากรในระดับโรงเรียนมีความรู้ด้านการวิจัยน้อย เนื่องจากไม่ได้รับการอบรมหรือฝึกทักษะการวิจัย

8.2 บุคลากรในระดับโรงเรียนและระดับจังหวัดต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน ทำให้มีเวลาน้อยและไม่ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

8.3 จำนวนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถด้านการวิจัยในระดับโรงเรียนมีน้อย

8.4 ขาดผู้รู้ที่สามารถให้คำปรึกษาในการทำวิจัยแก่ผู้ทำวิจัย

8.5 บุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการวิจัยบางขั้นตอนไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการวิจัย จึงทำให้การดำเนินการวิจัยไม่เป็นไปตามธรรมชาติ

9. ปัญหาด้านงบประมาณที่ใช้ในการวิจัย มีปัญหา คือ

9.1 การจัดสรรงบประมาณล่าช้าไม่ทันการณ์

9.2 มีปัญหาการใช้เงินงบประมาณเนื่องจากช่วงปีงบประมาณกับช่วงปีการศึกษาคาบเกี่ยวกัน ทำให้ไม่สามารถใช้เงินได้ในช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการวิจัยบางขั้นตอน

9.3 งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ

9.4 การเบิกจ่ายงบประมาณกระทำได้ลำบาก

10. ปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น

10.1 ขาดบุคลากรช่วยทำงานวิจัย โดยเฉพาะด้านธุรการทำให้ไม่สะดวกและได้ผลงานล่าช้า

10.2 มีโครงการอื่นแทรกซ้อนทำให้การดำเนินการวิจัยล่าช้า

10.3 ขาดแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ ตำรา เอกสารอ้างอิง

10.4 ขาดวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการวิจัย เช่น อุปกรณ์ การพิมพ์ ฯลฯ

10.5 บุคลากรอื่น ๆ ไม่สนใจงานวิจัย

10.6 ผู้ตอบแบบสอบถามในการวิจัยตอบไม่ตรงตามความเป็นจริง

          สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์(2544: 4) ได้กล่าวถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนว่าส่วนใหญ่เกิดจาก ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูไม่ตระหนักในความสำคัญของงานวิจัย ครูมองเห็นว่างานวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ยากเพราะคิดว่างานวิจัยในชั้นเรียนมีเพียงรูปแบบเดียว คือ วิจัยแบบมีแผน (แบบ 5 บท) ครูขาดแนวทางหรือผู้ให้คำแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูขาดเอกสารตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียนและ ครูไม่มีเวลาในการทำวิจัยชั้นเรียนเพราะแยกงานวิจัยออกจาการเรียนการสอน

          จากวิจัยของ Sardo- brown, D และ Welsh, L. A (1995 อ้างถึงใน สุวิมล, 2544: 177) การวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการที่ใช้ในการปฏิรูปโรงเรียน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูที่ต้องการทำวิจัยมีหลายประการ ได้แก่

1. ความกลัวเกี่ยวกับเทคนิคการทำวิจัย

2. ครูมีแนวโน้มจะเชื่อว่างานวิจัยไม่ใช่อยู่ในขอบเขตของงานครูที่จะปฏิบัติได้

3. ข้อจำกัดด้านเวลาในการทำวิจัยของครูในโรงเรียนที่จะทำวิจัย

4. มีความกังวลในหัวข้อวิจัยที่อาจกระทบความรู้สึกของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้อง

5. การไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร

6. การต่อต้านในการทำวิจัยจากผู้บริหาร

          และงานวิจัยของ Bauman, J.F (1996 อ้างถึงใน สุวิมล, 2544: 178) ว่าปัญหาการวิจัยไม่ใช่อยู่ที่การวิธีการวิจัยไม่ใช่อยู่ที่การออกแบบการวิจัยจะเป็นแบบทดลองจริงหรือกึ่งทดลอง ในสภาพจริงสามารถทำการสอนและวิจัยควบคู่กันได้ แต่ในทางปฏิบัติจริง ปัญหาจะอยู่ที่การเก็บข้อมูลซึ่งบางครั้งไม่สามารถทำได้ตามที่วางแผน เพราะไม่มีเวลาเก็บข้อมูล เนื่องจากงานประจำของครูมีมากในเชิงวิธีการวิจัย จึงต้องใช้วิธีการบันทึกข้อมูลย้อนหลัง หรือบันทึกข้อมูลย้อนหลัง หรือบันทึกข้อมูลตอนปลายภาค ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พึงกระทำ ปัญหาของการวิจัยปฏิบัติการจึงเกิดจากข้อจำกัดของเวลาและภาระงานครูในแต่ละวันซึ่งต้องให้เวลากับนักเรียนในการสอน เวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์วิจัยก็ลดน้อยลง

          จากการนำเสนอปัญหาในการวิจัยชั้นเรียนดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า ในการทำวิจัยนั้นมีปัญหาที่พอจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ด้าน คือ ปัญหาทางด้านตัวผู้ทำวิจัย ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย และปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพทั่วไปจะเอื้อต่อการทำวิจัย ซึ่งปัญหาในการทำวิจัยเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในการทำวิจัยหรือการนำผลการวิจัยไปใช้หรือไม่ ผู้ทำวิจัยจะเป็นผู้ป้องกันหรือกำกัดไม่ให้เกิดขึ้นในการทำวิจัยชั้นเรียนของตนเอง